วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีปีใหม่เมือง


ประเพณีปีใหม่เมือง เป็นประเพณีที่ปรากฏในเดือนเมษายนหรือเดือน ๗ เหนือ
ซึ่งถือเป็นการเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษอันเป็นการเปลี่ยนศักราชใหม่

ความหมายและความสำคัญของประเพณีปีใหม่เมือง

ปีใหม่เมืองเป็นการเปลี่ยนศักราชใหม่ แปลว่า การก้าวล่วงเข้าไป หรือการเคลื่อนย้าย
เข้าไป เป็นกิริยาของพระอาทิตย์ที่เคลื่อนย้ายเข้าสู่ราศีเมษ จึงเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี
แนวคิดหลักเกี่ยวกับประเพณีปีใหม่เมืองอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อเรื่องการเปลี่ยนศักราชใหม่
เป็นโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้มาอยู่ร่วมกันเพื่อทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ ดำหัว เล่นน้ำ
และขอพรจากผู้ใหญ่ เป็นการแสดงความปรารถนาที่ดีต่อกันด้วยการอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข








ทานกองเจดีย์ทราย
เมื่อถึงวันเนาว์ชาวบ้านจะพากันขนทรายเข้าไปกองไว้ที่กลางข่วงวัด บางแห่งใช้ไม้ไผ่สาน
เป็นกรอบใส่ทรายต่อขึ้นเป็นชั้น ๆ ส่วนปลายปักด้วยธงสีต่าง ๆ สมมติว่าเป็นเจดีย์ เรียกว่า เจดีย์ทราย
ถึงวันพญาวัน ชาวบ้านจะมารวมกันทำบุญในวันปีใหม่และร่วมกันถวายเจดีย์ทรายจากวันนั้นไปเกิน
๓ วัน ๗ วันขึ้นไป จะรื้อทรายออกเกลี่ยถมลานวัดให้สะอาด เหตุที่ต้องขนทรายเข้าใส่ลานวัด
เป็นเพราะชาวบ้านต่างคิดเห็นว่าในปีหนึ่งๆ พวกเขาเดินเข้าวัดออกวัด ทำให้เม็ดทรายติดเท้าออกมา
ดังนั้น ภายใน ๑ ปีก็จะขนทรายเข้าไปทดแทน













สรงน้ำพระพุทธรูป

นิยมสรงน้ำพระพุทธรูปในช่วงปีใหม่เมือง โดยมากจะสรงในวันพญาวัน ในวันนั้นทางวัด
ทุกวัดจะนำเอาพระพุทธรูป ทั้งที่เป็นทองสัมฤทธิ์และเป็นไม้ทั้งองค์เล็กองค์ใหญ่ที่มีในวัดออกมา
ตั้งกลางวิหาร เพื่อให้ศรัทธาชาวบ้านตักเอาน้ำขมิ้นส้มป่อย น้ำอบ แล้วชูขึ้นเหนือศีรษะ แสดงออกถึง
ความเคารพสูงสุด แล้วจึงเทน้ำสรงองค์พระพุทธรูป
















ดำหัว
คือการสระผม แต่เดิมการสระผมใช้ใบไม้ผลไม้
ที่เปรี้ยวและเกิดฟอง เช่น ส้มป่อย ใบหมี่ ลูกซัก และ
ผลมะกรูดปิ้งไฟแล้วนำมาต้มเป็นยาสระผม ต่อมาการดำหัว
เป็นการแสดงออกถึงการคารวะ การขออภัยที่ลูกหลาน
มีต่อผู้อาวุโส พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูบาอาจารย์นิยมดำหัว
แสดงถึงการคารวะในช่วงปีใหม่เมือง โดยมีดอกไม้
ธูปเทียน น้ำส้มป่อย หมากพลูบุหรี่ ผลไม้ข้าวสาร เสื้อผ้า
ไปมอบให้กับผู้มีพระคุณ ผู้อาวุโส เมื่อท่านรับแล้วเอามือแตะน้ำส้มป่อยขึ้นลูบผมแสดงว่า
ท่านให้อภัย ไม่ถือโทษที่ลูกหลานล่วงเกินด้วยกาย วาจา และใจ ท่านจะอวยพรให้ลูกหลานมีความสุข
ความเจริญ










การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ


         เป็นศิลปะการรำ  และการละเล่น  หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า  “ฟ้อน”  การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา  และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ  เช่น  ชาวไต  ชาวลื้อ  ชาวยอง  ชาวเขิน  เป็นต้น  ลักษณะของการฟ้อน  แบ่งเป็น  2  แบบ  คือ  แบบดั้งเดิม  และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่  แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า  อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง


ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม   ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดงฟ้อนเล็บ  ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน  นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว จุดเด่นของการแสดงชนิดนี้ จึงอยู่ที่แสงเทียนที่ผู้แสดงถือในมือข้างละ ๑ เล่ม   เข้าใจว่าการฟ้อนเทียนนี้แต่เดิมคงจะใช้เป็นการแสดงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์     เพื่อเป็นการสักการะเทพเจ้าที่เคารพนับถือในงานพระราชพิธีหลวง ตามแบบฉบับล้านนาของทางภาคเหนือของไทย   ผู้ฟ้อนมักใช้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น ในสมัยปัจจุบันการแสดงชุดนี้จึงไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักจะสังเกตเห็นว่าความสวยงามของการฟ้อนอยู่ที่การบิดข้อมือที่ถือเทียนอยู่  แสงวับๆ แวมๆ จากแสงเทียนจึงเคลื่อนไหวไปกับความอ่อนช้อยลีลา และลักษณะของเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบนับเป็นศิลปะที่น่าดูอย่างยิ่งแบบหนึ่ง
การแต่งกาย  ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน นิยมแสดงหมู่คราวละหลายคน โดยจำนวนคนเป็นเลขคู่ เช่น ๘ หรือ ๑๐ คน    แล้วแต่ความยิ่งใหญ่ของงานนั้น   และความจำกัดของสถานที่  โดยผู้แสดงแต่งกายแบบฟ้อนเล็บ คือ การสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นมีเชิงกรอมเท้า มุ่นผมมวย มีอุบะห้อยข้างศีรษะ ในมือเป็นสัญลักษณ์  คือ  ถือเทียน ๑ เล่ม   การแต่งกายของฟ้อนเทียนนี้  ปัจจุบันแต่งได้อีกหลายแบบ  คืออาจสวมเสื้อในรัดอก ใส่เสื้อลูกไม้ทับแต่อย่างอื่นคงเดิม  และอีกแบบคือสวมเสื้อรัดอก  แต่มีผ้าสไบเป็นผ้าทอลายพาดไหล่อย่างสวยงาม  แต่ยังคงนุ่งซิ่นกรอมเท้าและมุ่นผมมวย  มีอุบะห้อยศีรษะ
 โอกาสที่แสดง   ในงานพระราชพิธี   หรือวันสำคัญทางศาสนา  ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองชาวต่างชาติ   และในงานประเพณีสำคัญตามแบบฉบับของชาวล้านนา    



ฟ้อนเงี้ยว  เป็นการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมาจากการฟ้อนของเงี้ยวหรือไทยใหญ่  ประกอบด้วย  ช่างฟ้อนหญิงชายหลายคู่  แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองไทยใหญ่  การฟ้อนเงี้ยวเหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ต่อมาเพื่อให้เกิดความสวยงาม   จึงมีการใช้ผู้หญิงล้วน   หรือใช้ทั้งชายและหญิงแสดงเป็นคู่ๆ  มีลีลาการฟ้อนที่แปลกแตกต่างไปจากฟ้อนเล็บ  ฟ้อนเทียน 
การแต่งกาย  จะเลียนแบบการแต่งกายของชาวไทยใหญ่ โดยมีการดัดแปลงเครื่องแต่งกายออกไปบ้าง   โดยใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอก  นุ่งโสร่งสั้นเพียงเข่า  หรือกางเกงขากว้างๆ   หรือบ้างก็นุ่งโสร่งเป็นแบบโจงกระเบนก็มี ใช้ผ้าโพกศีรษะ มีผ้าคาดเอว ใส่เครื่องประดับ เช่น กำไลมือ กำไลเท้า  สร้อยคอ และใส่ตุ้มหู
โอกาสที่ใช้แสดง      แสดงในงานรื่นเริงทั่วไป


ฟ้อนเล็บ
เป็นศิลปะการแสดงภาคเหนือที่มีความงดงาม อ่อนช้อยลีลาการฟ้อนเล็บ จะแสดงออกถึงความพร้อมเพรียงของผู้แสดง เพราะการฟ้อนเล็บจะแสดงเป็นหมู่ การฟ้อนเล็บมักแสดงในงานมงคลต่าง ๆ
การแต่งกายของผู้เล่นฟ้อนเล็บ ผู้ฟ้อนนุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนยาว ห่มสไบ ผมเกล้าแบบผมมวยสูง ติดดอกไม้ ห้อยอุบะ ปล่อยชายลงข้างแก้ม สวมเล็บยาวตรงนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ




ขนมไทย


 มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย คือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ 




 ฝอยทองแพร่เข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับทองหยิบและทองหยอด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดย ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ท้าวทองกีบม้า, พ.ศ. 2202-2265) ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ภริยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ท้าวทองกีบม้ามีหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้น เป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตจากฝรั่งเศสที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น
 ทองหยิบ เป็นขนมโบราณที่อยู่ในชุดของขนมที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่นกันเพราะขึ้น ต้นด้วยทองซึ่งมีลักษณะและสีคล้ายกัน ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ดังนั้น เมื่อนำมาใช้ในพิธีจะใช้เป็นชุดทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะถือเคล็ดที่ชื่อขนมขึ้นต้นด้วยทอง แล้ว ยังถือเคล็ดชื่อต่อท้ายคือหยิบ ซึ่งหมายถึง หยิบเงิน หยิบทองอันจะนำไปสู่ความ ร่ำรวยต่อไป
เป็นขนมที่ขุนเท้าทองกีบม้า มารี ปิณญา เดอร์ กีร์มา หรือท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์ เป็นผู้ดัดแปลงมาจากขนมชนิดหนึ่งของโปรตุเกส ซึ่งมีลักษณะเป็นถั่วกวนชุบวุ้น (เหมือนลูกชุบนี่แหละ) แต่สมัยนั้นไทยเรายังไม่มีวุ้น ก็เลยใช้ชุบไข่แล้วต้มให้สุกในน้ำเชื่อมเหมือนขนมตระกูลทองทั้งหลาย ที่ชื่อว่าเม็ดขนุน คงจะเห็นได้จากลักษระทางกายภาพ เหมือนตอนที่เราแกะขนุนแล้วเอาเม็ดออกมา จะมีเยื่อสีเหลือง (ย่าผมเรียกว่า รก ) หุ้มเมล็ดอยู่







น้ำสมุนไพร








ถ้าจะกล่าวว่า พืชสมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยก็คงไม่แปลก 
เพราะทั้งอาหารที่บริโภคก็มีส่วนประกอบของพืชสมุนไพร 
ซึ่งทั้งอร่อยและบำบัดโรค รวมถึงน้ำดื่มดับกระหายคลายร้อนหรือชาสมุนไพรที่เคยดื่มเคยจิบ
กันมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยมีทั้งเก็กฮวย ตะไคร้ กระเจี๊ยบ ใช้ดื่มดับกระหาย โดยไม่รู้ว่า
นอกจากรสชาติที่อร่อยชื่นใจแล้ว ยังกำนัลด้วยประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ด้วยวันและเวลาผ่านไป 
ใครหลายคนคงลืมน้ำสมุนไพรเหล่านี้ไปแล้วลองย้อนวันเวลากลับไปทบทวน
ความรู้สึกเมื่อครั้งวัยเยาว์ที่ได้ดื่มน้ำสมุนไพรหรือน้ำชาเหล่านี้ 
ว่าทำให้เรามีแรงกระโดดโลดเต้นได้มากมายเพียงใด
คุณค่าจากการดื่มน้ำสมุนไพร
ดื่มเพื่อดับกระหาย ช่วยปรับธาตุและได้ทั้งสรรพคุณในการบำบัดรักษาโรคได้บางโรค 
ที่สำคัญราคาไม่แพง ดื่มได้ตลอดเวลา ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะเกิดจากการใช้ใบ 
ดอก ผล เกสร เปลือก รากของพืชมาผ่านกระบวนการผลิตที่สะอาด อาจใช้วิธีการต้มดื่มเป็นน้ำสมุนไพร
 (ซึ่งหากเลี่ยงการใส่น้ำตาลได้จะเป็นการดี เพื่อที่จะได้รับกลิ่นของพืชได้ดีขึ้น) 
หรืออาจจะตากแห้งเพื่อชงเป็นชาดื่ม (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพืชที่มีกลิ่นหอมระเหยขณะดื่มร้อนๆ 
ผู้ดื่มจะสูดรับกลิ่นหอมเข้าไปด้วย ก่อให้เกิดผลทางสุคนธบำบัดแก่ร่างกาย)

ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
ใช้ตะไคร้ 3 - 5 ต้นหั่นเป็นท่อนสั้น ทุบให้แตก ใช้นำลิตรครึ่งต้มพอเดือด กระองเอากากออก แล้วต้มต่ออีกราว 3 นาที หรือใช้เหง้าแก่ฝานเป็นแว่น คั่วไฟอ่อนๆ ชงเป็นชา
ประโยชน์
ตะไคร้มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม ลดความดันโลหิตสูง ช่วยขับเหงื่อ ลดพิษของสารแปลกปลอมในร่างกาย
















ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
ใช้ดอกต้มในน้ำเดือดจัดๆ ปิดฝาทิ้งไว้ 3 - 5 นาที
ประโยชน์
ช่วยบำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ลดไขมัน ขับเหงื่อ แก้โรคดีพิการ ช่วยให้สตรีมีประจำเดือนเป็นปกติ เป็นยาระบายอ่อนๆ มีสารคาธามีน ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น


วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ



ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อนช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านเช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดนต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วยอาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักมีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องมีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแคนอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมูและผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ


น้ำพริกหนุ่ม

เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อมากของชาวเหนือ การที่เรียกชื่ออย่างนี้เพราะใช้พริกอ่อนหรือคนเหนือ เรียกว่าพริกหนุ่มเป็นหลัก นำมาจิ้มกับข้าวเหนียวอุ่นๆ แกล้มด้วยผัก จี้หูด หรือ แคบหมู 







                                                                       น้ำพริกอ่อง  
น้ำพริกชนิดนี้นำมาจากพม่า มีเนื้อเหนียวแน่นด้วยหมูสับ ที่โขลกเข้ากับเครื่องน้ำพริกจากนั้นนำไปผัดน้ำมันเติมน้ำนิดหน่อย จิ้มทานกับข้าวนึ่ง แกล้มผักดิบ หรือผักลวกตามอัทยาศัย




                                                                           แกงฮังเล 
เป็นอาหารที่มาจากพม่า มีเนื้อหมูเป็นหลัก แกงด้วยกะทิและมีผงกะหรี่หรือผงฮังเล คล้ายๆแกงมัสมั่นมีทั้งหมูสามชั้น และเนื้อหมูเป็นมันย่องน่ารับประทาน ส่วนเรื่องของ รสชาตินั้นมีทั้งรสเค็มนำตามด้วยหวานและเปรี้ยวเล็กน้อย มีกลิ่นหอมขิงและมันถั่วลิสง





แกงแค


เป็นแกงที่ใช้พืชผักทางเหนือมาปรุง โดยใช้ผักอ่อนหลายชนิด แต่ที่ขาดไม่ได้เลยคือ ชะอม หากขาดไปถือว่าไม่เป็นแกงแคเลยที่เดียวเครื่องปรุงน้ำแกงจะคล้ายแกงส้ม แต่ไม่ใส่น้ำตาลและน้ำส้มมะขามแต่จะใส่น้ำปลาร้าเป็นชูรสและแทนน้ำปลาด้วย ซึ่งเป็นอิทธิพลวัฒนธรรมมอญ ได้รสชาติที่กลมกล่อมด้วยเค็ม เปรี้ยวเล็กน้อย และ หวานน้ำผักอ่อน





ข้าวซอย
เป็นอาหารจานเดียวที่รู้จักกันดี ได้รับมาจากจีนฮ่อ ตามสูตรเดิมของข้าวซอยนั้น น้ำแกงจะต้มด้วยกระดูกเนื้อ เคี่ยวกับเนื้อหมูและเครื่องแกง ไม่ใส่กระทิลงไปเหมือนในปัจจุบัน แต่เมื่อปรุง จะตักกะทิใส่ในชามก่อนเหยาะซีอิ้วใส่พริกป่นผัดน้ำมันแล้วจึงใส่เส้นบะหมี่ที่ลวกจนนุ่มดีแล้ว ตักน้ำแกงและเนื้อราดบนบะหมี่ โรยต้นหอมผักชีซอย แต่ไม่ใส่ผักกาดดองและถั่วงอก ปรุงรสเปรี้ยวด้วยมะนาว






 ขนมจีนน้ำเงี้ยว


โดยดั้งเดิมเป็นของพวกไทใหญ่หรือชาวเงี้ยวในพม่า เดิมเรียกกันว่า "ข้าวเส้นน้ำไต" ขนมจีนน้ำเงี้ยวที่เรียกว่าอร่อยนั้นน้ำแกงจะต้องข้น และหอมจากน้ำพริกแกง ที่คลุกเคล้ากับหมูสับละเอียด ใส่มะเขือส้มสีดาที่มีรสเปรี้ยวและยังมีเลือดหมู หรือเลือดไก่เป็นส่วนผสมซึ่งต้องนิ่มพอดีไม่แข็งหรือเละจนเกินไปและที่ขาดไม่ได้ คือเกสรดอกงิ้วป่า ซึ่งนำมาตากแห้งผสมลงไปด้วยจึงได้รสชาติที่กลมกล่อม


ไส้อั่ว
เป็นอาหารยอดนิยมอีกชนิดหนึ่ง เดิมทีจะไม่โขลกเครื่องปรุงอย่างละเอียด และใส่จนไม่แน่นเกินไปเพื่อที่เวลาเคี้ยวจะได้สำผัสถึงเครื่องปรุง เช่น เม็ดพริก ตระไคร้ ข่า หอม และเครื่อปรุงอื่นที่ต่างไปตามท้องถิ่น



ลาบเมือง ส้าเมือง
ลาบเมืองรสชาติจะมีความแปลกไปจากลาบอีสาน หรือทางภาคอื่น เพราะมีการปรุง ด้วยพริกลาบและเครื่องแกงอันประกอบด้วยพริกแห้ง ตะไคร้ พริกไทย ดีปลี ภายหลังเพิ่มลูกผัดชี ใบกระวาน ใบยี่หร่า เข้าด้วยเหล่านี้จะนำมาเผาไฟให้หอมเสียก่อน จึงนำมาปรุง และสามารถเก็บไว้ได้นาน พริกลาบจะดับกลิ่นคาวเนื้อ นำลาบมาคั่ว ไฟให้สุกหยอดน้ำมันหมูลงไปนิดจะได้รสมันเพิ่ม หรือทานดิบๆ ก็อร่อยเช่นกัน ส่วนส้าเมืองเป็นการนำเนื้อดิบมาผสมกับเลือดสดๆปรุงด้วยเครื่องปรุงคล้ายกับลาบนิยมทานกันดิบๆ โรยเส้นหมี่คั่ว แกล้มด้วยผักสดโดยเฉพาะผักที่มีกลิ่นฉุนๆ

สำหรับ กระดูกหมูและเนื้อหมูย่าง จิ้นทอด จิ้นปิ้ง ต้องทำให้ไม่มีรสหวานจะใส่ดินประสิว เกลือ แล้วห่อด้วยใบตอง
ส่วน แหนมเมืองและ แคบหมูเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของเชียงใหม่






แนะนำร้านอาหารพื้นเมืองในเชียงใหม่