วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ



ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อนช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านเช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดนต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วยอาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักมีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องมีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแคนอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมูและผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ


น้ำพริกหนุ่ม

เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อมากของชาวเหนือ การที่เรียกชื่ออย่างนี้เพราะใช้พริกอ่อนหรือคนเหนือ เรียกว่าพริกหนุ่มเป็นหลัก นำมาจิ้มกับข้าวเหนียวอุ่นๆ แกล้มด้วยผัก จี้หูด หรือ แคบหมู 







                                                                       น้ำพริกอ่อง  
น้ำพริกชนิดนี้นำมาจากพม่า มีเนื้อเหนียวแน่นด้วยหมูสับ ที่โขลกเข้ากับเครื่องน้ำพริกจากนั้นนำไปผัดน้ำมันเติมน้ำนิดหน่อย จิ้มทานกับข้าวนึ่ง แกล้มผักดิบ หรือผักลวกตามอัทยาศัย




                                                                           แกงฮังเล 
เป็นอาหารที่มาจากพม่า มีเนื้อหมูเป็นหลัก แกงด้วยกะทิและมีผงกะหรี่หรือผงฮังเล คล้ายๆแกงมัสมั่นมีทั้งหมูสามชั้น และเนื้อหมูเป็นมันย่องน่ารับประทาน ส่วนเรื่องของ รสชาตินั้นมีทั้งรสเค็มนำตามด้วยหวานและเปรี้ยวเล็กน้อย มีกลิ่นหอมขิงและมันถั่วลิสง





แกงแค


เป็นแกงที่ใช้พืชผักทางเหนือมาปรุง โดยใช้ผักอ่อนหลายชนิด แต่ที่ขาดไม่ได้เลยคือ ชะอม หากขาดไปถือว่าไม่เป็นแกงแคเลยที่เดียวเครื่องปรุงน้ำแกงจะคล้ายแกงส้ม แต่ไม่ใส่น้ำตาลและน้ำส้มมะขามแต่จะใส่น้ำปลาร้าเป็นชูรสและแทนน้ำปลาด้วย ซึ่งเป็นอิทธิพลวัฒนธรรมมอญ ได้รสชาติที่กลมกล่อมด้วยเค็ม เปรี้ยวเล็กน้อย และ หวานน้ำผักอ่อน





ข้าวซอย
เป็นอาหารจานเดียวที่รู้จักกันดี ได้รับมาจากจีนฮ่อ ตามสูตรเดิมของข้าวซอยนั้น น้ำแกงจะต้มด้วยกระดูกเนื้อ เคี่ยวกับเนื้อหมูและเครื่องแกง ไม่ใส่กระทิลงไปเหมือนในปัจจุบัน แต่เมื่อปรุง จะตักกะทิใส่ในชามก่อนเหยาะซีอิ้วใส่พริกป่นผัดน้ำมันแล้วจึงใส่เส้นบะหมี่ที่ลวกจนนุ่มดีแล้ว ตักน้ำแกงและเนื้อราดบนบะหมี่ โรยต้นหอมผักชีซอย แต่ไม่ใส่ผักกาดดองและถั่วงอก ปรุงรสเปรี้ยวด้วยมะนาว






 ขนมจีนน้ำเงี้ยว


โดยดั้งเดิมเป็นของพวกไทใหญ่หรือชาวเงี้ยวในพม่า เดิมเรียกกันว่า "ข้าวเส้นน้ำไต" ขนมจีนน้ำเงี้ยวที่เรียกว่าอร่อยนั้นน้ำแกงจะต้องข้น และหอมจากน้ำพริกแกง ที่คลุกเคล้ากับหมูสับละเอียด ใส่มะเขือส้มสีดาที่มีรสเปรี้ยวและยังมีเลือดหมู หรือเลือดไก่เป็นส่วนผสมซึ่งต้องนิ่มพอดีไม่แข็งหรือเละจนเกินไปและที่ขาดไม่ได้ คือเกสรดอกงิ้วป่า ซึ่งนำมาตากแห้งผสมลงไปด้วยจึงได้รสชาติที่กลมกล่อม


ไส้อั่ว
เป็นอาหารยอดนิยมอีกชนิดหนึ่ง เดิมทีจะไม่โขลกเครื่องปรุงอย่างละเอียด และใส่จนไม่แน่นเกินไปเพื่อที่เวลาเคี้ยวจะได้สำผัสถึงเครื่องปรุง เช่น เม็ดพริก ตระไคร้ ข่า หอม และเครื่อปรุงอื่นที่ต่างไปตามท้องถิ่น



ลาบเมือง ส้าเมือง
ลาบเมืองรสชาติจะมีความแปลกไปจากลาบอีสาน หรือทางภาคอื่น เพราะมีการปรุง ด้วยพริกลาบและเครื่องแกงอันประกอบด้วยพริกแห้ง ตะไคร้ พริกไทย ดีปลี ภายหลังเพิ่มลูกผัดชี ใบกระวาน ใบยี่หร่า เข้าด้วยเหล่านี้จะนำมาเผาไฟให้หอมเสียก่อน จึงนำมาปรุง และสามารถเก็บไว้ได้นาน พริกลาบจะดับกลิ่นคาวเนื้อ นำลาบมาคั่ว ไฟให้สุกหยอดน้ำมันหมูลงไปนิดจะได้รสมันเพิ่ม หรือทานดิบๆ ก็อร่อยเช่นกัน ส่วนส้าเมืองเป็นการนำเนื้อดิบมาผสมกับเลือดสดๆปรุงด้วยเครื่องปรุงคล้ายกับลาบนิยมทานกันดิบๆ โรยเส้นหมี่คั่ว แกล้มด้วยผักสดโดยเฉพาะผักที่มีกลิ่นฉุนๆ

สำหรับ กระดูกหมูและเนื้อหมูย่าง จิ้นทอด จิ้นปิ้ง ต้องทำให้ไม่มีรสหวานจะใส่ดินประสิว เกลือ แล้วห่อด้วยใบตอง
ส่วน แหนมเมืองและ แคบหมูเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของเชียงใหม่






แนะนำร้านอาหารพื้นเมืองในเชียงใหม่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น