วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ขนมไทย


 มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย คือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ 




 ฝอยทองแพร่เข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับทองหยิบและทองหยอด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดย ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ท้าวทองกีบม้า, พ.ศ. 2202-2265) ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ภริยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ท้าวทองกีบม้ามีหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้น เป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตจากฝรั่งเศสที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น
 ทองหยิบ เป็นขนมโบราณที่อยู่ในชุดของขนมที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่นกันเพราะขึ้น ต้นด้วยทองซึ่งมีลักษณะและสีคล้ายกัน ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ดังนั้น เมื่อนำมาใช้ในพิธีจะใช้เป็นชุดทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะถือเคล็ดที่ชื่อขนมขึ้นต้นด้วยทอง แล้ว ยังถือเคล็ดชื่อต่อท้ายคือหยิบ ซึ่งหมายถึง หยิบเงิน หยิบทองอันจะนำไปสู่ความ ร่ำรวยต่อไป
เป็นขนมที่ขุนเท้าทองกีบม้า มารี ปิณญา เดอร์ กีร์มา หรือท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์ เป็นผู้ดัดแปลงมาจากขนมชนิดหนึ่งของโปรตุเกส ซึ่งมีลักษณะเป็นถั่วกวนชุบวุ้น (เหมือนลูกชุบนี่แหละ) แต่สมัยนั้นไทยเรายังไม่มีวุ้น ก็เลยใช้ชุบไข่แล้วต้มให้สุกในน้ำเชื่อมเหมือนขนมตระกูลทองทั้งหลาย ที่ชื่อว่าเม็ดขนุน คงจะเห็นได้จากลักษระทางกายภาพ เหมือนตอนที่เราแกะขนุนแล้วเอาเม็ดออกมา จะมีเยื่อสีเหลือง (ย่าผมเรียกว่า รก ) หุ้มเมล็ดอยู่







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น